praruttanatri.gif
                         lineth_bar.gif
                               พระพุทธเจ้า ๑ พระธรรม ๑ พระสงฆ์ ๑
      
          ๑. ท่้านผู้สอนให้ประชุมชนประพฤติชอบด้วยกายวาจาใจ ตามพระธรรมวินัยทีี่ี่ท่านเรียกว่าพระพุทธศาสนา ชื่อ พระพุทธเจ้า

          ๒. พระธรรมวินัยที่เป็นคำสั่งสอนของท่าน ชื่อ พระธรรมฯ
          ๓. หมู่ชนที่ฟังคำสั่งสอนของท่านแล้ว ปฏิบัติธรรมวินัย ชื่อ พระสงฆ์
          อธิบาย  รัตนะ แปลว่า แก้ว ในที่นี้หมายเอาสิ่งที่ประเสริฐ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ชื่อว่ารัตนะ เพราะเป็นวัตถุอันประเสริฐกว่าแก้วแหวน
เงินทองทั้งปวงซึ่งมีในไตรภพ อนึ่ง เพราะเป็นธรรมชาติทำความยินดีให้แก่โลก ทั้ง ๓ เพราะให้สำเร็จความประสงค์ คือให้เกิดความสุขความอบอุ่นใจ
อยู่เสมอ รวมเรียกชื่ออย่างเดียวว่า พระรัตนตรัยฯ
          พระพุทธ แปลว่า ตื่นแล้วหรือเบิกบานแล้ว และที่เรียกว่า พระพุทธะ จำแนกออกโดยประเภท มี ๔ จำพวกคือ
          ๑. พระสัพพัญญูพุทธะ ผู้รู้เท่าทันสังขารและธรรมทั้งปวง
          ๒. พระปัจเจกพุทธะ ผู้รู้เท่าสังขารแต่ลำพังตัวเอง ( สอนคนอื่นไม่ได้ )
          ๓. พระสุตพุทธะ ผู้รู้เท่าซึ่งความดีชั่วเป็นต้น ด้วยการ สดับและเล่าเรียน
          ๔. พระสาวกพุทธะ ผู้ฟังคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าแล้วรู้เท่าสังขาร
          พระธรรม แปลว่า สภาพที่ทรงไว้หรือสภาพรักษาไว้กล่าวโดยย่อมี ๓ คือ ปริยัติธััมม ธรรมที่จะต้องเล่าเรียนศึกษา ได้แก่พระธรรมวินัย
ปฏิปัติธัมม ธรรมที่จะต้องปฏิบัติ ได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา  ปฏิเวธธัมม ธรรมที่จะพึงรู้แจ้งแทงตลอดได้แก่มรรคผลนิพพาน
          ภิกษุตั้งแต่ ๔ รูปขึ้นไป จึงเรียกว่า “สงฆ์” แปลว่าหมู่  ๓รูป ๒รูป ไม่เรียกว่าสงฆ์ เรียกว่าคณะแทน รูปเดียวเรียกว่าบุคคล พระสงฆ์นั้นจำแนก
ออกไป ๒ พวก คือ สมมติสงฆ์ ได้แก่ภิกษุตั้งแต่ ๔รูปขึ้นไป อริยสงฆ์ ได้แก่พระอริยสาวก ๔คู่ พวก๑
                                                                  คุณของรัตนะ ๓ อย่าง
       
 ๑.
พระพุทธเจ้ารู้ดีรู้ชอบด้วยพระองค์เองก่อนแล้วสอนผู้อื่นให้รู้ตามด้วย
         ๒. พระธรรมย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม
         ๓. พระสงฆ์ปฏิบัติชอบตามคำสอนของพระพุทธเจ้า แล้วสอนผู้อื่นให้กระทำตามด้วย
         อธิบายฯ พระพุทะเจ้ารู้ดีรู้ชอบนั้น หมายเอารู้อริยสัจ ๔  ๑. ที่ชั่
วในภพหน้า ๒. ที่ชั่วในภพนี้  ที่ชั่วในภพหน้านั้นเรียกว่า “อบายภูมิ ” แปลว่า
ภูมิอันหาความเจริญมิได้ ในบาลีแสดงไว้ ๔ คือ นรก เดียรัจฉาน เปรต อสุรกาย ที่ชั่วในภพนี้นั้น ได้แก่ พันธนาคาร (เรือนจำ) ราชภัยและโจรภัย
ตลอดถึงความทุกข์ยากต่างๆ  
                                                         อาการที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอน ๓ อย่าง
          ๑. ทรงสั่งสอนเพื่อจะให้ผู้ฟังรู้ยิ่งเห็นจริงในธรรมที่ควรรู้ควรเห็น
          ๒. ทรงสั่งสอนมีเหตุ ที่ผู้ฟังอาจตรองตามให้เห็นจริงได้
          ๓. ทรงสั่งสอนเป็นอัศจรรย์ คือผู้ปฏิบัติตามย่อมได้ประโยชน์โดยสมควรแก่การปฏิบัติ
          อธิบายฯ  ข้อที่ ๑ ว่า รู้ยิ่งเห็นจริง นั้น คือให้รู้ดีพิเศษยิ่งกว่าที่เคยรู้มา ทั้งเห็นชัดว่าปฏิบัติตามธรรมนั้นจะต้องได้รับผลเช่นนั้นๆจริง ดังนี้
ชื่อว่ารู้ยิ่งเห็นจริง  ธรรมส่วนใดเป็นอกุศลบาปธรรมควรเจริญก็ดี เหล่านี้ชื่อว่าธรรมที่ควรรู้ควรเห็น
         ข้อที่๒. นั้น มีอธิบายว่า พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนชี้เหตุแห่งสุขและทุกข์ว่า สุขมาจากเหตุอันนี้ ตัวอย่างเช่น ทรงแสดงสัปปุริสธรรมข้อ๑
“ธัมมัญญูตา”ความเป็นผู้รู้จักเหตุรู้จักความไม่โลภ ความไม่โกรธ และความไม่หลงเป็นเหตุแห่งสุข ความโลภ ความโกรธ และความหลงเป็นเหตุ
แห่งทุกข์ ดังนี้ เมื่อผู้ฟังตริตรองตามไปอาจเห็นจริงได้

         ข้อที่๓. ทรงสั่งสอนเป็นอัศจรรย์ นั้น เช่นพระองค์ทรงสั่งสอนให้ละ กายทุจริต วจีทุจริต และ มโนทุจริต และเจริญเมตตาอารีคิดเผื่อแผ่
ผู้ฟังปฏิบัติตามได้เช่นนี้ ก็จะได้ผลตามสมควร ตั้งต้นแต่ไม่คิดเบียดเบียนกันและกันให้ได้รับความเดือดร้อน คิดเผื่อแผ่ประโยชน์ให้กันและกัน
ดังนี้คือทรงสอนเป็นอัศจรรย์
                                                                 โอวาทของพระพุทธเจ้า ๓ อย่าง
          ๑. เว้นจากทุจริต คือ ประพฤติชั่วด้วย กาย วาจา ใจ
          ๒. ประกอบสุจริต คือ ประพฤติชอบด้วย กาย วาจา ใจ
          ๓. ทำใจของตนให้หมดจด จากเครื่องเศร้าหมอง มี โลภ โกรธ หลง เป็นต้นฯ
          อธิบายฯ การไม่ทำบาปทั้งปวงเรียกว่า เว้นจากทุจริต การบำเพ็ญกุศล เรียกว่าประกอบสุจริต การทำจิตของตนให้ผ่องแผ้ว เรียกว่า กระทำใจของตนให้หมดจดจากเครื่องเศร้าหมองใจ
          คำว่า  “เว้น
”  นั้น จำแนกโดยอาการเป็น ๓ คือ
          ๑. เว้นได้ในคราวประจบเข้า เรียกว่า สัมปัตตวิรัติ
          ๒. เว้นโดยรับรองไว้ก่อน เรียกว่า สมาทานวิรัติ
          ๓. เว้นได้อย่างเด็ดขาด เรียกว่า สมุทเฉทวิรัติ
          คำว่า  “ บาปทั้งปวง” นั้น ได้แ่ก่ความชั่วร้ายเสียหายทั่วไป บาป แปลว่า ลามก
                                                                            ทุจริต ๓ อย่าง
          ๑. กายทุจริต  ประพฤติชั่วด้วยกาย    ๒.วจีทุจริต   ประพฤติชั่วด้วยวาจา     ๓. มโนทุจริต ประพฤติชั่วด้วยใจ
                                                                         กายทุจริต ๓ อย่าง
          ๑. ปาณาติบาต   ฆ่าสัตว์     ๒. อทินนาทาน    ลักฉ้อ     ๓. กาเมสุมิจฉาจาร   ประพฤติผิดในกาม
                                                                          วจีทุจริต ๔ อย่าง
          ๑. มุสาวาท    พูดเท็จ     ๒. ปิสุณาวาจา  พูดส่อเสียด    ๓. ผรุสวาท   พูดคำหยาบ    ๔. สัมผัปปลาป  พูดเพ้อเจ้อ
                                                                          มโนทุจริต ๓ อย่าง
          ๑. อภิชฌา    โลภอยากได้ของเขา   ๒. พยาบาท  ปองร้ายเขา   ๓. มิจฉาทิฏฐิ  เห็นผิดจากคลองธรรม
          อธิบาย    ทุจริตแปลว่าประพฤติชั่ว ทุจริต ๓ จำแนกออกเป็น ๑๐ ตามแบบข้างต้น รวมเรียกชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า อกุศลกรรมบถ ๑๐
          ในทุจริต ๓ นั้น มโนทุจริต เป็นสำคัญเพราะใจเป็นหัวหน้าของร่างกาย เมื่อใจชั่วแล้วจะทำอะไร จะพูดอะไร ล้วนแต่เป็นไปโดยโทษทุจริต
กิริยาที่ทำให้ตาย เรียกว่า ฆ่า แม้การเล่นชนไก่ กัดปลา อาจถึงตายได้ แม้ใช้คนอื่นให้ทำก็นับเข้าในข้อนี้ด้วย กิริยาที่ถือเอาสิ่งของอของผู้อื่นที่เขา
ไม่ให้จัดเป็นอทินนาทาน  กิริยาที่รักใคร่ในทางประเวณีในสตรีที่เขาหวงห้าม เรียกว่าประพฤติผิดในกามเป็นข้อห้ามทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิง
เพราะเป็นการทำลายเชื้อสายของเขาให้เสียไปท่านจึงห้าม อนึ่ง การดื่มน้ำเมาท่านก็จัดอนุโลมเข้าเป็นกายทุจริต   สิ่งที่รู้เห็นว่าไม่รู้ไม่เห็น เรียกว่า
พูดเท็จแสดงเป็นอย่างอื่นให้เข้าใจผิด เช่นเขียนหนังสือปด หรือ รู้อยู่แต่โบกมือเสียก็นับเข้าในวจีทุจริตด้วย แต่เป็น กายทวาร   เจตนาของผู้พูดเท็จ
ประสงค์ให้ผู้ฟังเชื่อถ้อยฟังคำของตนให้ผู้ฟังเข้าใจผิดคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง  เจตนาของผู้พูดส่อเสียด ประสงค์ให้เขาแตกร้าวจากกัน ๑ 
จะให้เขาชอบพอรักใครตน ๑ เจตนาของผู้พูดคำหยาบประสงค์ให้ผู้ถูกด่าได้ความอัปยศอดสู ๑ฯ    เห็นผิดจากหลักธรรมดา เช่น เห็นว่าทำบุญ
ไม่ได้บุญ ทำบาปไม่ได้บาป จะดีก็ดีเองจะชั่วก็ชั่วเอง หรือเห็นว่าสิ่งของทั้งหลายไม่มีปัจจัย หรือเห็นว่าตายแล้วสูญ เป็นต้น เรียกว่า
เห็นผิดจากคลองธรรม
                                                                               สุจริต ๓ อย่าง 
          ๑. กายสุจริต  ประพฤติชอบด้วยกาย    ๒. วจีสุจริต  ประพฤติชอบด้วยวาจา   ๓. มโนสุจริต  ประพฤติชอบด้วยใจ
                                                                            กายสุจริต ๓ อย่าง
          
๑.ปาณาติบาต เวรมณี  เว้นจากฆ่าสัตว์๒. อทินนาทาน เวรมณี เว้นจากลักฉ้อ ๓.กาเมสุมิจฉาจาร เวรมณี เว้นจากการประพฤติผิดในกาม
                                                                              วจีสุจริต ๓ อย่าง
          ๑. มุสาวาทา เวรมณี เว้นจากพูดเท็จ ๒. ปิสุณาย วาจาย เวรมณี เว้นจากพูดคำส่อเสียด ๓. ผรุสาย วาจาย เวรมณี เว้นจากพูดคำหยาบ.
          ๔. สัมผัปปลาปา เวรมณี เว้นจากคำพูดคำเพ้อเจ้อ
                                                                             มโนสุจริต ๓ อย่าง
          ๑. อนภิชฌา ไม่โลภอยากได้ของเขา  ๒. อพยาปาท ไม่พยาบาทปองร้ายเขา  ๓. สัมมาทิฏฐิ  เห็นชอบตามคลองธรรม
          อธิบาย  ความเว้นจากประพฤติทุจริต มีเว้นจากการฆ่าสัตว์เป็นต้น แล้วแต่ยังหาทำความดีไม่ ยังไม่เชื่อว่าประพฤติสุจริต เรียกแต่เพียงว่า
สุจริตนั้น ต่อเมื่อได้ช่วยชีวิตเขา หรือให้ทรัพย์ของตนเกื้อกูลเขาจึงจะได้รับชื่อว่าประพฤติสุจริต เป็นเหตุให้เกิดสุข คือความสบายกายสบายใจ ซึ่งเป็น
ผลมาแต่เหตุ คือ ประพฤติสุจริตเหตุที่ชั่วย่ิอมได้รับผลที่ได้ประสบเป็นเครื่องพิสูจน์ให้รู้ได้  อานิสงส์ของการประพฤติสุจริต ๕ อย่าง คือ ๑ ตนไม่พึง
ติเตียนตนเองได้ ๒. ผู้รู้ใคร่ครวญแล้วสรรเสริญ ๓. เกียรติคุณย่อมฟุ้งไป ๔. จะเป็นผู้มีสติในมรณสมัย ๕. ตายแล้วไปสู่สคติ
                                                                             อกุศลมูล ๓ อย่าง
      
   ๑. โลภะ   อยากได้     ๒. โทสะ   คิดประทุษร้ายเขา       ๓. โมหะ  หลงไม่รู้จริง
         เมื่ออกุศลมูลเหล่านี้ ๑ ก็ดี ๒ ก็ดี ๓ ก็ดี
มีอยู่แล้ว อกุศลอื่นที่ยังไม่เกิดก็เกิดขึ้น ที่เกิดแล้วก็เจริญมากขึ้นเหตุนั้นควรละเสีย
         อธิบาย   โลภะ  เมื่อครอบงำจิตทำคนให้ประพฤติทุจริตต่างๆ เช่นเล่นการพนันบ้างฉกชิงวิ่งราวปล้นสะดมบ้าง เป็นตัวอย่างฯ   
         โทสะ เมื่อครอบงำจิตคนมิให้คิดเมตตากรุณาต่อกันมีแต่มุ่งล้างผลาญซึ่งกันและกันร่ำไป
         โมหะ เมื่อครอบงำจิตทำให้คนมืดมน มิให้รู้จักผิดและชอบ นึกจะประพฤติกิจการอะไร ทางกายหรือทางวาจา จะตั้งหน้าทำไปตามชอบใจ
มิได้เกรงขามต่อสิ่งใดหมด ซึ่งเป็นโทษมาถึงตัว ที่ทำไปครั้งนี้ก็เพราะความเขลา ไม่รู้เท่าทันต่อเหตุการณ์โดยนัยนี้ท่านจึงว่ “โลภะ โทสะ โมหะ”
เป็นรากเง่าของอกุศล
                                                            กุศลมูล ๓ อย่าง
         ๑. อโลภะ  ไม่อยากได้   ๒. อโทสะ  ไม่คิดประทุษร้าย  ๓. อโมหะ  ไม่หลง
         ถ้ากุศลมูลเหล่านี้ ๑ ก็ดี ๒ ก็ดี ๓ ก็ดี มีอยู่แล้ว กุศ,อื่นที่ยังไม่เกิดก็เกิดขึ้น ที่เกิดแล้วก็เจริญมากขึ้น เหตุนั้นควรให้เกิดมีในสันดาน
         อธิบาย   กุศลอื่นที่ยังไม่เกิด  จะเกิดขึ้นได้อย่างนี้เมื่อบุคคลไม่โลภ ก็จะคิดเผื่อแผ่ประโยชน์ของตนแก่ผู้อื่นผู้ไม่คิดเบียดเบียนยินดีอยู่แต่
ในวัตถุของตน นับว่าเป็นผู้สันโดษและเฉลี่ยให้แก่ผู้อื่น  เมื่อบุคคลไม่ติดประทุษร้ายใครแล้วก็เป็นผู้ประกอบไปด้วยเมตตา ไม่คิดเบียดเบียนผู้อื่นให้
เดือดร้อนดังนี้ บุคคลเป็นผู้ไม่หลง เป็นผู้มีปัญญษจะทำการสิ่งใดก็ทำสิ่งดี สิ่งใดเป็นส่วนชั่วก็จะละเว้นเสียประพฤติแต่สิ่งที่ชอบ   อุทาหรณ์ทั้ง๓ นี้
อโลภะพึงเห็นดังนี้ ชนผู้จะบริจาคทานได้ก็เพราะไม่โลภ ดังบาลีว่า“ อโลโภ ทานเหตุ ” ไม่โลภ เป็นเหตุให้บริจาคทาน    อโทสะ พึงเห็นในชนผู้ทีมี
เมตตากันเช่นนี้ ก็เพราะไม่คิดประทุษร้าย นับว่าเป็นเหตุแห่งความเป็นผู้มีศีล ดังบาลีว่า “อโทโส สีลเหตุ ” ไม่คิดประทุษร้้าย เป็นเหตุให้รักษาศีล
อโมหะ  พึงเห็นชนผู้ทำอะไรไม่เคยผิด ทำแต่สิ่งที่ถูก เพราะความไม่หลง เมื่อมีอยู่ในชนใด ผู้นั้นอาจตริตรองเหตุผล โดยตระหนักว่านี่ถูก แต่นั้นย่อม
ยังกุศลที่ยังไม่เกิดขึ้นได้ ดังบาลีว่า “อโมโห ภาวนาเหตุ” ไม่หลงเป็นเหตุให้เจริญภาวนา

   อ่านต่อ    ย้อนกลับ    หน้าแรก